RSS

ตัวอย่างการรายงานโครงงานคุณธรรม

ตัวอย่างการรายงานโครงงานคุณธรรม                                                                                                      


            การยกตัวอย่างโครงงานคุณธรรมครั้งนี้ได้นำโครงงานที่มีการนำเสนออยู่แล้วใน เว็บไซต์มาเป็นกรณีศึกษา ส่วนตัวอย่างค่าเฉลี่ยความคิดเห็นของครู  เพื่อน  ผู้ปกครอง  นั้นเป็นเพียงกรณีสมมติขึ้น เพื่อให้เกิดความเข้าใจการสอดแทรกคุณธรรมในโครงงานคุณธรรมมากยิ่งขึ้น  
             ข้อสังเกตการใช้แบบประเมินจากแบบสอบถามความคิดเห็นจากเพื่อน  ครู  ผู้ปกครอง  เป็นเพียงวิธีหนึ่งที่เราจะเห็นค่านิยมที่พึงประสงค์จากเด็กๆได้ ระดับหนึ่งเท่านั้น เพราะในความเป็นจริง สิ่งสำคัญที่ต้องเน้นในการสอนแบบโครงงานคุณธรรมก็คือ คุณครูต้องสังเกตพฤติกรรมเด็กอย่างใกล้ชิด ถ้าเห็นทำพฤติกรรมไม่เหมาะสม  คุณครูเมื่อมีโอกาสอบรมสั่งสอนตักเตือนก็ต้องดำเนินการทันที ทั้งนี้เพื่อให้เด็กได้รู้ตัวว่าตนเองนั้นมีคุณธรรมที่บกพร่องควรได้รับการ แก้ไขเรื่องใด เพราะเด็กบางครั้งจะไม่เข้าใจพฤติกรรมที่ตนได้ปฏิบัติลงไปนั้นอาจเกิดความ เสียหายแก่ตนเองและสังคมอย่างไร  ขณะเดียวกันถ้าเด็กเริ่มทำดีเราก็ให้กำลังใจเขา  ส่วนเด็กคนใดที่ทำดีอยู่แล้วเราก็ยกย่องชมเชยให้เพื่อนได้เห็นเป็นตัวอย่าง  เด็กก็จะเลียนแบบกันเอง
           แรกๆในการสอนสอดแทรกอาจทำให้เด็กไม่พอใจที่มีคุณครูคอยอบรม  มักมองว่าครูจู้จี้จุกจิกบ้าง แต่ครูก็ต้องยอมรับสภาพนี้เพราะเป็นหน้าที่ของครูที่จะต้องคอยเป็นกระจกเงา ให้เด็กรู้ถึงการกระทำของตนว่าถูกหรือผิด   การเอาใจเด็กโดยหวังไม่ให้เด็กกระเทือนกระทบจิตใจโดยพูดอ้อมๆนั้นผู้เขียน เคยทดลองใช้แล้ว  ปรากฏเด็กจะไม่ใส่ใจว่า ครูกำลังตักเตือน กลับมองการกระทำนั้นเป็นเรื่องธรรมดาไม่ใช่เรื่องสำคัญ  ผลปรากฏคือ เด็กก็จะไม่รู้ถึงพฤติกรรมที่ตนต้องแก้ไขก็อาจทำให้เด็กละเลยไม่เชื่อฟังได้ การตักเตือนโดยตรงจะได้ผลดีกว่า  แต่ข้อระวังคืออย่าติเพียงอย่างเดียว   เมื่อเขาทำดีต้องรีบชมให้กำลังใจ  เพื่อไม่ให้เกิดการท้อแท้ในสิ่งที่ตนเองทำได้  จึงขอเป็นกำลังใจกับคุณครูทุกท่านที่สอนโครงงานคุณธรรม   แล้วคุณครูอย่างเพิ่งท้อเสียก่อนนะคะ
          ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างการรายงานโครงงานคุณธรรมในรายวิชาคณิตศาสตร์ เพราะคุณ ครูคณิตศาสตร์บางท่านเคยถามการสอดแทรกคุณธรรมในรายวิชานี้ จึงขอเสนอตัวอย่างโครงงานคุณธรรมในรายวิชานี้ก่อน  ส่วนวิชาอื่นถ้ามีความประสงค์อยากให้ทำตัวอย่างให้ก็เขียนขอกันมานะ ค่ะ                
              ตัวอย่างการทำโครงงานคณิตศาสตร์
โดยใช้หลักธรรมในปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงโครงงานรูปทรงและปริมาตร พิฆาตยุง*
ชื่อโครงงาน รูปทรงและปริมาตร พิฆาตยุง
ผู้จัดทำ เด็กชายอนันต์ อุดรรุ่ง เด็กหญิงเบญจมาศ ไชยสัตย์ เด็กหญิงสุภางค์ ฤทธิ์สุวรรณ
ครูที่ปรึกษา นายมานิต เหลื่อมกุมมาร นางสาวเพ็ญศรี สุปัญญา
ผล งาน รางวัลชนะเลิศ การประกวดโครงงานคณิตศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น เนื่องในสัปดาห์วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร วันที่ 18-19 สิงหาคม 2549
ที่มาและความสำคัญ
      จากกิจกรรมการเรียนการสอนคณิตศาสตร์เรื่องรูปทรงเรขาคณิตและปริมาตร พวกเราได้เรียนรู้ถึงลักษณะของรูปทรง การหาพื้นที่ และการหาปริมาตรของรูปทรงต่างๆ ทำให้พวกเราเกิดข้อสงสัยว่าปริมาตรของรูปทรงที่ได้จากการคำนวณโดยใช้สูตร นั้นมีความสัมพันธ์กันอย่างไรและเราอยากที่จะทราบว่าในปริมาตรและความสูง เท่ากันนั้นรูปทรงเรขาคณิตจะเป็นอย่างไร เราจึงได้คิดหาวิธีที่จะพิสูจน์ทฤษฎีดังกล่าวโดยใช้เทียนมาหลอมเป็นรูปทรง ต่างๆ เนื่องจากว่าโรงเรียนของพวกเราอยู่ในบริเวณวัดเห็นมีเศษเทียนจากการประกอบ พิธีทางศาสนาที่ไม่ได้นำไปใช้ประโยชน์อะไร เราจึงได้คิดที่จะนำเอาเศษ เทียนเหล่านั้นมาใช้ หล่อเป็นรูปทรงเรขาคณิตเพื่อพิสูจน์ตามข้อสงสัยดังกล่าว นอกจากนี้เรายังได้นำเอาพืชสมุนไพรที่สามารถไล่ยุงได้มาผสมลงในการหล่อเทียน เป็นรูปทรงต่างๆ เพื่อใช้เป็นเทียนสมุนไพรไล่ยุง และนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน และเพื่อจะได้นำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯมา ใช้ในชีวิตจริง
วัตถุประสงค์ของการศึกษาค้นคว้า
     1. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของปริมาตรของรูปทรงปริซึม พีระมิด กรวย ทรงกระบอกและทรงกลม
     2. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างรูปทรงเรขาคณิตกับระยะเวลาที่ใช้ในการไล่ยุง
     3. เพื่อจะได้นำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯมาใช้ในชีวิตจริง
ตัวแปรที่เกี่ยวข้อง
     1. ตัวแปรควบคุม
         1.1 พื้นที่ฐานและส่วนสูงของรูปทรงเรขาคณิต
         1.2 ปริมาตรและส่วนสูง
     2. ตัวแปรตาม
         2.1 ปริมาตรของรูปทรงเรขาคณิต
         2.2 ระยะเวลาในการกำจัดยุง
ค่านิยมที่พึงประสงค์ในหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่นำมาใช้
        1.    ขยันหมั่นเพียร
        2. ประหยัด
        3.  ซื่อตรง
        4. มีวินัย
        5. สุภาพ
        6. สะอาด
        7. สามัคคี
        8. มีน้ำใจ
เอกสารที่เกี่ยวข้อง
     ในการจัดทำโครงงานคณิตศาสตร์ครั้งนี้ กลุ่มได้ศึกษาค้นคว้าเอกสารที่เกี่ยวข้องดังต่อไปนี้
     1. รูปทรงเรขาคณิตและการหาปริมาตร
     2. สมุนไพรที่ใช้ในการไล่ยุง
     3. การหล่อเทียน
     4. ค่านิยมที่พึงประสงค์ในหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่นำมาใช้
วิธีดำเนินการ
1. อุปกรณ์
       1. กระดาษแข็ง
       2. เศษเทียน 
       3. เปลือกมะกรูด (บดตากแห้ง) 
       4. สีเทียน
       5. ไส้เทียน
       6. บีกเกอร์ ขนาด 250 ลูกบาศก์เซนติเมตร
       7. บีกเกอร์ ขนาด 100 ลูกบาศก์เซนติเมตร
       8. ชุด ตะเกียงแอลกอฮอล์
       9. รูปทรงเรขาคณิต
     10. มีดคัตเตอร์
     11. กาว
     12. แผ่นฟิวเจอร์บอร์ด
     13. ใบตะไคร้หอม (บดตากแห้ง)
     14. เปลือกส้ม (บดตากแห้ง)
     15. แก้ว
     16. เครื่องปั่นผลไม้
     17. ไม้ขีดไฟ
     18. กรรไกร
     19. ไม้บรรทัด
2. ขั้นตอนในการดำเนินการ
     1. ศึกษาเอกสารความรู้เกี่ยวกับเรื่องรูปทรงเรขาคณิตและปริมาตร
     2. จัดทำรูปทรงเรขาคณิตที่มีพื้นที่ฐานและส่วนสูงเท่ากัน และคำนวณหาปริมาตร
     3. หาความสัมพันธ์ของปริมาตรของรูปทรงเรขาคณิต
     4. จัดทำแม่พิมพ์รูปทรงเรขาคณิตที่มีปริมาตรและส่วนสูงเท่ากัน
     5. หล่อเทียนใบตะไคร้หอม เปลือกมะกรูด เปลือกส้มในรูปทรงเรขาคณิต
     6. ทดลองหาระยะเวลาในการหลอมละลายของรูปทรงเรขาคณิต
     7. สรุปผลการดำเนินการ
3. ศึกษาความสัมพันธ์ของปริมาตรของรูปทรงปริซึม พีระมิด กรวย ทรงกระบอกและทรงกลม
3.1 ขั้นเตรียม
     3.1.1 ความสัมพันธ์ของปริมาตรของรูปทรงปริซึม พีระมิด
           จัดเตรียมรูปทรงพีระมิดฐานสามเหลี่ยม สี่เหลี่ยมจัตุรัสและ หกเหลี่ยมด้านเท่าที่มีพื้นที่ฐานและส่วนสูงเท่ากับรูปทรงของปริซึมฐานสาม เหลี่ยม สี่เหลี่ยมจัตุรัสและ หกเหลี่ยมด้านเท่า ตามลำดับเพื่อเป็นแม่พิมพ์สำหรับหล่อรูปทรงเรขาคณิต ดังกล่าว
     3.1.2 ความสัมพันธ์ของปริมาตรของรูปทรง กรวย ทรงกระบอกและทรงกลม
          จัดเตรียมรูปทรง กรวย ทรงกระบอก และ ทรงกลม ที่มีพื้นที่ฐาน ( รัศมีเท่ากัน) และส่วนสูงเท่ากัน เพื่อเป็นแม่พิมพ์สำหรับหล่อรูปทรงเรขาคณิตดังกล่าว
3.2 ขั้นปฏิบัติ
     1. หลอมละลายเทียนให้ได้ปริมาตร ตามที่ต้องการ
     2. นำเทียนที่หลอมละลายนั้นมาตวงใส่ในบิกเกอร์ขนาด 100 ลูกบาศก์เซนติเมตร
     3. จดบันทึกปริมาตรของเทียนที่ใช้ หล่อเทียนในแม่พิมพ์รูปทรงปริซึม พีระมิด กรวย ทรงกระบอกและทรงกลม
3.3 ขั้นสรุปผล
     3.3.1 เปรียบเทียบความสัมพันธ์ของปริมาตรระหว่างรูปทรงปริซึมกับพีระมิดจากข้อมูลที่จดบันทึก
     3.3.2 เปรียบเทียบความสัมพันธ์ของปริมาตรระหว่าง รูปทรงกรวยทรงกระบอกและทรงกลม
4. ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างรูปทรงเรขาคณิตกับระยะเวลาที่ใช้ในการไล่ยุง
4.1 ขั้นเตรียม
     1. กำหนดรูปทรงเรขาคณิต ปริซึม พีระมิด กรวย ทรงกระบอกและทรงกลมที่มีปริมาตรและพื้นที่ฐานเท่ากัน
     2. คำนวณหาส่วนสูงของรูปทรงปริซึม พีระมิด กรวย ทรงกระบอกและทรงกลมเพื่อจัดทำแม่พิมพ์สำหรับหล่อเทียน
     3 จัดทำแม่พิมพ์รูปทรงเรขาคณิต ปริซึม พีระมิด กรวย ทรงกระบอกและทรงกลมที่มีปริมาตรและ พื้นที่ฐานเท่ากันสำหรับหล่อเทียน
4.2 ขั้นปฏิบัติ
     1. หลอมละลายเทียนให้ได้ปริมาตร ตามที่ต้องการ
     2. นำเทียนที่หลอมละลายนั้นมาตวงใส่ในบิกเกอร์ขนาด 250 ลูกบาศก์เซนติเมตร
     3. หล่อเทียนรูปทรงปริซึม พีระมิด กรวย ทรงกระบอกและทรงกลม
     4. จุดเทียนรูปทรงปริซึม พีระมิด กรวย ทรงกระบอกและทรงกลมและจับเวลาในการหลอมละลาย
     5. บันทึกผลการทดสอบ
4.3 ขั้นสรุปผล
     เปรียบเทียบระยะเวลาที่ได้จากการจุดเทียนที่หลอมละลายรูปทรงปริซึม พีระมิด กรวย ทรงกระบอกและทรงกลม
ศึกษาวิเคราะห์ค่านิยมที่พึงประสงค์ในหลักธรรมปรัชญาพอเพียงที่นำมาปฏิบัติ
   1.  ขยันหมั่นเพียร   -    มีความตั้งใจในการเตรียมรูปทรง กรวย ทรงกระบอก และ ทรงกลม ที่มีพื้นที่ฐาน ( รัศมีเท่ากัน) และส่วนสูงเท่ากัน เพื่อเป็นแม่พิมพ์สำหรับหล่อรูปทรงเรขาคณิตดังกล่าว และใช้ความเพียรในการหล่อให้ได้ตามแผนที่ไว้
   2. ประหยัด             -    มีการวางแผนการใช้เศษเทียนจากวัดซึ่งประกอบศาสนาพิธีแล้วมาใช้ในการทดลองทำ เป็นรูปทรงปริซึม พีระมิด กรวย ทรงกระบอกและทรงกลม ซึ่งช่วยประหยัดงบประมาณและสามารถช่วยให้ชุมชนนำเศษ เทียนใช้ประโยชน์ได้อีก
 3. ซื่อตรง               -    บันทึกและทำการทดลองด้วยความซื่อตรง
   4. มีวินัย                 -     ชั่งอุปกรณ์การทดลองด้วยความตั้งใจ  เก็บอุปกรณ์อย่างเป็นระเบียบ
   5.  สุภาพ                -    เมื่อไปขอเศษเทียนที่วัดจะขอเศษเทียนจากเจ้าอาวาสด้วยกิริยา มารยาท     สุภาพเรียบร้อยกราบมนัสการท่านด้วยความเคารพและขณะทดลองสมาชิกใน โครงงานไม่เสียงดัง ควบคุมอารมณ์กรณีมี ความคิดเห็นขัดแย้งกับเพื่อนร่วมโครงงานหรือสอบถามครูด้วยความ สุภาพ อ่อน น้อม มีมารยาท
   6. สะอาด                -    ล้างอุปกรณ์ทดลองให้สะอาด หรือรักษาความสะอาดบริเวณทดลอง
   7. สามัคคี               -     สมาชิกในกลุ่มให้ความร่วมมือในการทำงาน
   8.  มีน้ำใจ               -     สมาชิกในกลุ่มให้ความช่วยเหลือกันอย่างเต็มใจ
สรุป อภิปรายผล
     จากผลการศึกษาค้นคว้าความรู้เกี่ยวกับรูปทรงเรขาคณิตและปริมาตร โดยเรากำหนดพื้นที่ฐานและ ความสูงของรูปทรงปริซึม พีระมิด กรวย ทรงกลมและทรงกระบอก ทำให้เราพิสูจน์ทฤษฎีบทในการคำนวณหาปริมาตรโดยใช้สูตรให้เห็นเป็นรูปธรรม กล่าวคือ
     1.กลุ่มได้เห็นความสัมพันธ์ของปริมาตรระหว่างรูปทรงปริซึมและรูปทรงพีระมิด พบว่าปริมาตรของรูปทรงปริซึมที่ใช้เป็น 3 เท่าของรูปทรงพีระมิด และความสัมพันธ์ระหว่างรูปทรงกรวย ทรงกลม และทรงกระบอก พบว่าปริมาตรของรูปทรงกระบอกที่ใช้เป็น 3 เท่าของรูปทรงกรวยและ เป็น 2 เท่าของรูปทรงกลมตามลำดับโดยเรากำหนดพื้นที่ฐานและความสูงของรูปทรงเป็นตัว ควบคุม จึงทำให้เรามองเห็นความจริงในเรื่องของปริมาตรที่เป็นรูปธรรมและมีความ ชัดเจน
     2. การนำเอารูปทรงเรขาคณิตมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน ได้แก่ในเรื่องของการใช้เศษเทียนไข สมุนไพรพื้นบ้านมาผสมกันแล้วใช้เป็นยาจุดไล่ยุง รูปทรงเรขาคณิตมีผลต่อระยะเวลาที่ใช้ในการไล่ยุง ซึ่งผลการทดลองดังตารางที่ 1-4 กล่าวคือ รูปทรงที่มีระยะเวลาในการหลอมละลายหรือไล่ยุงได้นานที่สุดได้แก่รูปทรงกรวย รูปทรงพีระมิด ทรงกระบอกและรูปทรงปริซึมตามลำดับ
     ศึกษาวิเคราะห์ค่านิยมที่พึงประสงค์ในหลักธรรมปรัชญาพอเพียงที่นำมาปฏิบัติใช้ในการทดลองครั้งนี้  คือ
            1.  สมาชิกในกลุ่มมีความเพียรพยายามอยู่ในระดับดีมากดัง ผลการประเมินของครู เพื่อนและผู้ปกครองคิดค่าเฉลี่ย4.75 ทั้งนี้เพราะประดิษฐ์เศษเทียนเป็นรูปทรงปริซึมและรูปทรงพีระมิด เห็นความสัมพันธ์ของปริมาตรระหว่างรูปทรงปริซึมและรูปทรงพีระมิด พบว่าปริมาตรของรูปทรงปริซึมที่ใช้เป็น 3 เท่าของรูปทรงพีระมิด และความสัมพันธ์ระหว่างรูปทรงกรวย ทรงกลม และทรงกระบอก พบว่าปริมาตรของรูปทรงกระบอกที่ใช้เป็น 3 เท่าของรูปทรงกรวยและ เป็น 2 เท่าของรูปทรงกลมตามลำดับโดยเรากำหนดพื้นที่ฐานและความสูงของรูปทรงเป็นตัว ควบคุม จึงทำให้เรามองเห็นความจริงในเรื่องของปริมาตรที่เป็นรูปธรรมและมีความ ชัดเจน
           2.  ใช้หลักธรรมเรื่องการมีวินัยและความซื่อตรงในขณะชั่งสารสี   รู้จักอดทนต่อการรอคอยผลการทดลอง  ตลอดจนไม่สรุปผลเข้าข้างตนเอง  แต่สรุปผลตามความเป็นจริง ด้วยความซื่อตรงดังผลการประเมินของครู เพื่อนและผู้ปกครองคิดค่าเฉลี่ย4.39 อยู่ในระดับดีมาก
            3.  ช่วยกันเก็บอุปกรณ์ทดลองล้างให้สะอาดเก็บอุปกรณ์ที่ใช้อย่างเป็นระเบียบ มี การนำหนังสือพิมพ์ปูพื้นก่อนทดลองและสมาชิกช่วยกันดูแลรักษาความสะอาด พื้นที่ทดลองเป็นอย่างดี   ดังผลการประเมินของครู เพื่อนและผู้ปกครองคิดค่าเฉลี่ย4.33อยู่ในระดับดีมาก
            4.   สมาชิกในกลุ่มมีความสามัคคี  อยู่ในระดับดี  มีน้ำใจให้ความร่วมมือตลอดการทดลองดังผลการประเมินของครู เพื่อนและผู้ปกครองคิดค่าเฉลี่ย4.63อยู่ในระดับดีมาก
            5.    มีการวางแผนการใช้วัสดุทดลองทำให้ไม่สิ้นเปลืองงบประมาณ  และเป็นประโยชน์ต่อชุมชน  ดังผลการประเมินของครู เพื่อนและผู้ปกครองคิดค่าเฉลี่ย4.63  อยู่ในระดับดีมาก
            6.  ขณะทดลองโครงงานสมาชิกในกลุ่มให้ เกียรติเคารพรับฟังความคิดเห็นของครู  เพื่อนและผู้ปกครอง ในกลุ่มจะร่วมกันใช้วิจารณญาณ พูดสุภาพเรียบร้อย มีความจริงใจที่จะค้นคว้าทดลอง  ดังผลการประเมินของครู เพื่อนและผู้ปกครองคิดค่าเฉลี่ย4.73อยู่ในระดับดีมาก
           7.  ทำ ให้สมาชิกช่วยคิดวิเคราะห์สรุปผลการทดลองด้วยปัญญาเกิดการเรียนรู้จาก ประสบการณ์ตรงรู้จักใช้สติในการทำงานมาขึ้นและมีฉันทะความพึงพอใจในบทเรียน
ข้อเสนอแนะ
     1. สามารถนำสมุนไพรพื้นบ้านชนิดอื่นมาเป็นส่วนผสมได้
     2. สามารถใช้วัสดุอย่างอื่นมาหลอมแทนเทียนได้
ประโยชน์ที่ได้รับ
     1. ทราบว่าปริมาตรของรูปทรงปริซึมสัมพันธ์กับพีระมิด และปริมาตรของกรวย ทรงกลมสัมพันธ์กับทรงกระบอก
     2. ทราบว่าปริมาตรของรูปทรงเรขาคณิตที่ใช้ในการไล่ยุงได้นานที่สุดคือ กรวย พีระมิด ทรงกระบอกและปริซึม ตามลำดับ
   3.  ได้นำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯมาใช้ในชีวิตจริง
                  อย่าลืมนะคะคุณครูที่สอนโครงงานคุณธรรมต้องทำความเข้าใจคุณธรรมแต่ละตัวให้ กระจ่างและต้องปฏิบัติเป็นแบบอย่างให้เด็กๆด้วยเราจึงสามารถสอนเขาได้ถูก ต้อง
หมายเหตุ  :  แหล่งที่มาในโครงงาน นำมาจาก
 sunisa.is.in.th/?md=content - 30k

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น