RSS

ประสบการณ์น่ารู้เกี่ยวกับ"การสอนโครงงานคุณธรรม"

ประสบการณ์น่ารู้เกี่ยวกับ"การสอนโครงงานคุณธรรม"

                                                                                                              

          ขอเล่าประสบการณ์จาก "การสอนโครงงานคุณธรรม"   ความจริงการสอนแบบนี้ดิฉันจำได้ว่า  ดิฉันได้เริ่มใช้วิธีการสอนแบบนี้ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2530  เรียกว่า ดิฉันสอนแบบคิดว่าน่าจะเป็นจะดีกว่า   โดยประยุกต์จากการเขียนโครงการให้โรงเรียน เพราะตำรับตำราการสอนโครงงานขณะนั้นก็ยังมีไม่มากเหมือนเช่นปัจจุบัน ประกอบกับดิฉันโชคดีที่มีหัวหน้าหมวดสังคมศึกษา (ปัจจุบันเรียกว่ากลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา  ศาสนา  และวัฒนธรรม)  โรงเรียนนนทรีวิทยาชื่อ  อาจารย์ลัดดาวัลย์  หลวงพิทักษ์  ท่านได้ชวนเข้าทีมฝึกเป็นวิทยากรถ่ายทอดวิธีการสอนแบบจุลภาค หรือ micro - teaching กับการสอดแทรกคุณธรรมในการสอนเพื่อปลูกฝังคุณธรรมสำหรับนักเรียนให้กับ อาจารย์ของโรงเรียนในกลุ่ม 3 ซึ่งขณะนั้นท่านเป็นประธานกลุ่มอยู่  โดยมีอาจารย์แพทย์ 2 ท่านที่ให้ความรู้การสอดแทรกคุณธรรมอย่างลึกซึ้ง  คือนายแพทย์โรจน์รุ่ง และแพทย์หญิงศรีธรรม  ดิฉันยังไม่ลืมพระคุณท่านจนถึงปัจจุบันเลยค่ะ   ดิฉันได้นำความรู้ของท่านมาใช้สอนอยู่ทุกวันนี้
          
                   เมื่อ"โครงงานคุณธรรม"เป็นที่นิยม เป็นที่สนใจของคุณครูในขณะนี้ ถ้าไม่นำมาบอกเล่ากันเสียบ้าง เกรงว่าภูมิความรู้ที่ได้จากประสบการณ์คงสูญหายไปตามกาลเวลาอย่างแน่นอน  ดิฉันมักได้ยินเพื่อนครูว่า สอนอย่างไรเด็กๆถึงทำโครงงานได้เสียที เพราะเด็กๆยังไม่ได้โครงงานทำเลย  ดูเด็กไม่สนใจที่จะทำโครงงานเลย  ครูบางคนก็บอกว่า ยังไม่ได้เรื่องเลยมีแต่จะเลี้ยงปลาอย่างเดียว  ไม่ทราบจะให้คำแนะนำแก่ลูกศิษย์อย่างไรจึงเป็นแรงกระตุ้นหรือแรงบันดาลใจให้ เขาสร้างผลงานในโครงงานได้ดีๆไปพร้อมกับการปลูกฝังให้มีคุณธรรมปฏิบัติจน เป็นนิสัย   ความจริงการสอนแบบนี้ดิฉันอยากบอกว่า  ไม่ยากเลยค่ะ จะสนุกกับมันเสียด้วยซ้ำ เพียงแต่ครูจะต้องเหนื่อยหน่อย ที่สำคัญเราต้องติดตามดูแลเอาใจใส่อย่างใกล้ชิดเด็กให้มาก แต่ผลลัพธ์ที่ได้ตามมาคือได้ใจเด็ก   คราวนี้เราจะให้ทำอะไรก็ได้ทั้งนั้น  ชี้นกเป็นนก  ชี้ไม้เป็นไม้    เขาจะจัดการทุกอย่างเป็นระบบมีกระบวนการมากยิ่งกว่าที่เราบอก  รวมทั้งเขาจะศรัทธาในตัวครู  เป็นเด็กว่านอนสอนง่าย  มีปัญญาไม่ใช่เด็กหุ่นยนต์ที่ทำตามคำสั่งแต่ไร้การคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์


 



          ถ้า เราทำความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องการเขียนโครงงานควบคู่ไปกับการฝึกสอดแทรก คุณธรรม โดยครั้งแรกเพื่อนครูอาจใช้วิธีการสอนแบบจุลภาค หรือ micro - teaching โดยหาทีมซัก 4-5 คน ช่วยผลักเปลี่ยนดูการสอนของเราว่านำไปใช้สอนได้หรือยัง  (อย่าลืมทำแผนการสอนด้วยนะค่ะ)  ติชมกันก่อนแบบนี้ก็จะทำให้เรามั่นใจและไม่ผิดพลาดในการสอนได้  แต่จะมีครูสักกี่คนที่ได้ทำเช่นนี้ได้เพราะเวลาจำกัดอย่างที่ทราบๆกันอยู่ แล้ว  ไหนจะสอนจำนวนหลายวิชา หลายคาบ แถมบางคนสอนวิชาไม่ถนัดอีก  เรียกได้ว่ามีปัญหาร้อยแปดพันเก้านั่นแหละค่ะ  จริงไหมคะ

          จาก การเป็นที่ปรึกษาโครงงานคุณธรรมเฉลิมพระเกียรติ   เยาวชนทำดี  ถวายในหลวง และที่ปรึกษาโครงงานคุณธรรมตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของเด็กชั้นมัธยม ศึกษาปีที่  3/11-3/12  การสอนของดิฉันที่ช่วยกระตุ้นทำให้เด็กๆได้โครงงานคุณธรรมดีๆหลายโครงงานโดย ให้ใช้ความสามารถ หรือหาจุดแข็งของกลุ่มที่ มีคุณพ่อคุณแม่ คุณปู่ คุณย่า  หรือญาติ  มีความสามารถงานประดิษฐ์ต่างๆ นำภูมิปัญญาของท่านให้ท่านสอนมาทำเป็นโครงงานคุณธรรมตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจ พอเพียงส่งผลให้เด็กกลุ่มหนึ่งทำโครงงานดอกคาร์เนชั่นสวย  เสริมรายได้ ลดปัญหาขยะถุงพลาสติก  ซึ่งได้รับรางวัลชนะเลิศในการแข่งขันระดับศูนย์พัฒนาวิชาการ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา  ศาสนา  และวัฒนธรรม สพท.สป.2 การกระตุ้นให้นักเรียนคิดถึงความสามารถในกลุ่ม ส่งผลให้เด็กคิดได้อย่างง่ายดาย  ส่วนอีกกลุ่มหนึ่งได้ข้อคิดใช้ความรู้ซึ่งเรียนมาในระดับประถมเรื่องการ ประดิษฐ์ปลาจากขวดพลาสติกมาต่อยอดในการทำโครงงานเรื่อง  ลดขวดพลาสติกในโรงเรียนเพิ่มรายได้จากปลาสวยงาม เช่นเดียวกับกลุ่มซึ่งทำโครงงานจากกระดาษไร้ค่าให้เป็นเงินด้วยเปเปอร์มาเช่ โดยเด็กกลุ่มนี้ให้ชื่อว่า "พอเพียงเยี่ยงพ่อด้วยเปเปอร์มาเช่  ลดปัญหากระดาษม.3/12 และกลุ่มโครงงานเศรษฐกิจพอเพียงจากกล้วยในชุมชนวัดศรีวารีน้อย  หรือกลุ่มโครงงาน กะลามะพร้าวเสริมรายได้ใช้จุดแข็งของกลุ่มที่บ้านปลูกมะพร้าว แล้วลูกมะพร้าวล่นทิ้งเกลื่อนบ้านและมีพ่อประดิษฐ์เครื่องใช้จากกะลามะพร้าว ช่วยสอนให้  ส่วนอีกกลุ่มมีคุณแม่ประดิษฐ์ดอกไม้จากถุงใยบัวได้สวยงาม  ก็ได้เรียนรู้วิธีการประดิษฐ์จนในที่สุดได้คิดเป็นโครงงาน หนึ่งทีม หนึ่งผลิตภัณฑ์  ดอกไม้จากถุงใยบัว  นี่เป็นส่วนหนึ่งของโครงงานคุณธรรมที่เด็กๆได้คิด และอยู่ระหว่างดำเนินการในโครงงานคุณธรรมตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
           ตามทฤษฎีขั้นตอนในการทำโครงงานคุณธรรม   มีขั้นตอนสำคัญ  6  ขั้นตอน ดังนี้
                     ขั้นตอนที่  1   การตระหนักรู้และพิจารณาเลือกหัวเรื่องหรือประเด็นปัญหา
                     ขั้นตอนที่  2   การรวบรวมประมวลข้อมูลและองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้อง
                     ขั้นตอนที่  3   การจัดทำร่างโครงงาน
                     ขั้นตอนที่  4   การดำเนินการโครงงาน
                     ขั้นตอนที่  5   การสรุปประเมินผลและเขียนรายงาน
                     ขั้นตอนที่  6  การนำเสนอโครงงาน

 

 
 
             แต่สิ่งหนึ่งของการสอนโครงงานคุณธรรมที่คุณครูควรคำนึงถึงอย่างยิ่งคือ  การให้เด็กๆคิดวิเคราะห์สิ่งที่ปฏิบัติไปว่ามีความสัมพันธ์กับคุณธรรมเรื่อง ใด   ไปพร้อมๆขณะทำโครงงาน  และต้องสอนทันทีถ้าเห็นเด็กๆกำลังบกพร่องคุณธรรมเรื่องใดทั้งนี้เพื่อให้เขา จะได้เข้าใจในสิ่งที่เขาได้ปฏิบัติลงไป จึงกล่าวได้ว่า  "โครงงานคุณธรรม"  เป็นกิจกรรมการเรียนรู้เชิงบูรณาการที่พัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้คู่คุณธรรม หรือมีความดีงามอย่างแท้จริงด้วยการได้ปฏิบัติจนเป็นนิสัยกลายเป็นคุณลักษณะ หรือค่านิยมอันที่พึงประสงค์ของผู้เรียนซึ่งได้จากการเรียนรู้โครงงานที่ผู้ เรียนพึงพอใจพร้อมกำหนดหลักธรรมทางศาสนาหรือตามค่านิยมอันพึงประสงค์ในหลัก ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาบูรณาการให้ผู้เรียนได้คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ เป็นองค์ความรู้ในการเตือนตนให้นำหลักธรรมหรือค่านิยมที่พึงประสงค์ไป ประยุกต์ใช้ในโครงงานโดยประเมินตนเองเป็นระยะๆนับตั้งแต่ก่อนเริ่มโครงงานจน สิ้นสุดโครงงาน ที่สำคัญสิ่งหนึ่งที่ขาดไม่ได้คือการให้เด็กบันทึกสิ่งที่ตน ปฏิบัติซึ่งเด็กๆส่วนใหญ่ไม่ค่อยปฏิบัติกันดังนั้นคุณครูควรเน้นเรื่องนี้ ด้วยก็จะดีมากค่ะ
            จึงกล่าวได้ว่า  โครงงานคุณธรรมเป็นโครงงานมุ่งเน้นกระบวนการทางปัญญาในการสังเกตสำรวจค้น คว้าคิดวิเคราะห์คิดสังเคราะห์จนเข้าใจในประเด็นที่เลือกมาทำโครงงานได้ตลอด สายระหว่าง ปัญหา-สาเหตุ-เป้าหมาย-ทางแก้ อย่างสอดคล้องสัมพันธ์กันเป็นเหตุเป็นผลควบคู่กับการบ่มเพาะปลูกฝังสร้าง เสริมคุณธรรมให้เกิดขึ้นในผู้เรียนเป็นประการสำคัญ
 

ใครสนใจตัวอย่างการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้การบูรณาการโดยใช้ท้องถิ่นเป็นกรณีศึกษา“ เชิญอ่านบล็อกนี้ค่ะ

ใครสนใจตัวอย่างการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้การบูรณาการโดยใช้ท้องถิ่นเป็นกรณีศึกษา“ เชิญอ่านบล็อกนี้ค่ะ

                                                                                                                 

         คุณ ครูท่านใดสอนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่  4  เกี่ยวกับเรื่องสังคม  โครงสร้างทางสังคม  องค์ประกอบโครงสร้างทางสังคม  และต้องการบูรณาการเข้ากับท้องถิ่นที่นักเรียนอยู่  ดิฉันได้สอนเรื่องนี้โดยบูรณาการกับสังคมในท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และสังคม บางโฉลง ถ้าคุณครูท่านใดสนใจเชิญอ่านแผนการจัดการเรียนรู้ต่อไปนี้เลยค่ะ  
                         แผนการจัดการเรียนรู้
รายวิชา   ส 41101                              สังคมศึกษา                           ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  4
แผนการจัดการเรียนรู้เรื่อง    สุวรรณภูมิกรณีศึกษาหนึ่งของสังคมไทย      เวลา   2    ชั่วโมง                               

มาตรฐานการเรียนรู้ 
  ส.2.1  ปฏิบัติตนตามหน้าที่ของการเป็นพลเมืองดี  ตามกฎหมาย  ประเพณีและวัฒนธรรมไทยดำรงชีวิตอยู่ร่วมกันในสังคมไทยและสังคมโลกอย่างสันติ สุข

สาระสำคัญ
 สังคม สุวรรณภูมิเป็นสังคมหนึ่งของสังคมไทยซึ่งมีองค์ประกอบโครงสร้างทางสังคม ประกอบด้วย  กลุ่มคนทางสังคม  สถาบันทางสังคม   การจัดระเบียบทางสังคม     เช่นเดียวกับทุกสังคม  ตลอดจนมีการสืบสานภูมิปัญญาไทยในการสร้างภูมิทัศน์ในท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

สาระการเรียนรู้
              ลักษณะสำคัญของสภาพสังคมสุวรรณภูมิ
      องค์ประกอบโครงสร้างทางสังคม
      กลุ่มคนทางสังคม
      สถาบันทางสังคม
      การจัดระเบียบทางสังคม
      ภูมิปัญญาไทย

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
             สามารถวิเคราะห์สภาพสังคมในท่าอากาศยานสุวรรณภูมิกับโครงสร้างทางสังคม  และ ภูมิปัญญาไทย

จุดประสงค์การเรียนรู้
    1.   มีความรู้และความเข้าใจสภาพสังคมไทย
    2.  มีความรู้และความเข้าใจโครงสร้างทางสังคม  สถาบันทางสังคม และการจัดระเบียบทางสังคม

กิจกรรม/กระบวนการเรียนรู้/ภาระงาน
ชั่วโมง 1
   1.  ให้นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียนชุด  “สุวรรณภูมิกรณีศึกษาหนึ่งของสังคมไทย”
   2.  ครูและนักเรียนสนทนาองค์ประกอบของโรงเรียนพูลเจริญวิทยาคมและชุมชนบางโฉลงตามความเข้าใจของนักเรียน
   3.  แจ้งผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
   4.  ให้นักเรียนแบ่งกลุ่มโดยความสมัครใจ กลุ่มละ 4 คน  เลือกประธาน  1 คน เลขาฯกลุ่ม  1  คน
  5.  ให้แต่ละกลุ่มส่งตัวแทนออกมาจับสลากเลือกหัวข้อต่อไปนี้
            หัวข้อ  1  กลุ่มคนในสังคมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
            หัวข้อ  2  สถาบันทางสังคมในท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
            หัวข้อ  3   การจัดระเบียบทางสังคมในท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
           หัวข้อ  4   ภูมิปัญญาไทยที่ใช้ในท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
  6.  แจกใบความรู้ชุด องค์ประกอบของโครงสร้างทางสังคม โยงให้นักเรียนทำกิจกรรมที่กำหนดไว้ในใบกิจกรรมที่  1  เรื่องมารู้จักท่าอากาศยานสุวรรณภูมิหนึ่งในสังคมไทย โดย
          -  กลุ่มที่จับสลากได้หัวข้อ 1 เรื่อง “กลุ่มคนในสังคมบริเวณท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ” ศึกษาข้อมูลจากใบความรู้ที่  1  “กลุ่มคนในสังคมไทยแล้วสืบค้นและวิเคราะห์สภาพกลุ่มคนในสังคมบริเวณโดยรอบ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ 
          -  กลุ่มที่จับสลากได้หัวข้อ 2 เรื่อง “สถาบันทางสังคมในท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ”ศึกษาข้อมูล จากใบความรู้ที่   2  “สถาบันทางสังคมในสังคมไทย” แล้วสืบค้นสถาบันและวิเคราะห์สถาบันทางสังคมโดยรอบท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
          -  กลุ่มที่จับสลากได้หัวข้อ  3  เรื่อง  “การจัดระเบียบทางสังคมในท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ”   ศึกษาข้อมูลจาก  ใบความรู้ที่  3    “การจัดระเบียบทางสังคมในสังคมไทย”  แล้วสืบค้นและวิเคราะห์การจัดระเบียบทางสังคมโดยรอบท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
          -  กลุ่มที่จับสลากได้หัวข้อ  4  เรื่อง “ภูมิปัญญาไทยที่ใช้ในท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ”  ศึกษาข้อมูลจากใบความรู้ที่  4  “ภูมิปัญญาไทย”    แล้วสืบค้นและวิเคราะห์ภูมิปัญญาไทยที่ใช้ในท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
   7.   เตรียมส่งตัวแทนรายงานผลการทำวิเคราะห์ในชั่วโมงถัดไปกลุ่มละ  5  นาที
   8.  สอดแทรกคุณธรรมจริยธรรม เรื่อง  ความตั้งใจ

ชั่วโมงที่  2
    9.  ทบทวนภาระที่ได้มอบหมาย
  10. จับสลากสุ่มนักเรียนกลุ่มที่เลือกหัวข้อเรื่อง“กลุ่มคนในสังคมบริเวณท่า อากาศยาน สุวรรณภูมิ”  ออกมารายงานผลการวิเคราะห์และให้กลุ่มที่ไม่รายงานเสนอข้อมูลเพิ่มเติมใน กลุ่มที่เสนอผลงานไม่กล่าวถึง
  11. จับสลากสุ่มนักเรียนกลุ่มที่เลือกหัวข้อเรื่อง  “สถาบันทางสังคมในท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ”   ออกมารายงานผลการวิเคราะห์ พร้อมให้กลุ่มที่ไม่รายงานเสนอข้อมูลเพิ่มเติมในกลุ่มที่เสนอผลงานไม่กล่าว ถึง
  12. จับสลากสุ่มนักเรียนกลุ่มที่เลือกหัวข้อเรื่อง “การจัดระเบียบทางสังคมในท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ”   ออกมารายงานผลการวิเคราะห์และให้กลุ่มที่ไม่รายงานเสนอข้อมูลเพิ่มเติมใน กลุ่มที่เสนอผลงานไม่กล่าวถึง
 13.  จับสลากสุ่มนักเรียนกลุ่มที่เลือกหัวข้อเรื่อง การใช้ภูมิปัญญาไทยในท่าอากาศยานสุวรรณภูมิออกมารายงานผลการวิเคราะห์และให้ กลุ่มที่ไม่รายงานเสนอข้อมูลเพิ่มเติมในกลุ่มที่เสนอผลงานไม่กล่าวถึง
   14.  โยงให้นักเรียนสรุปผลการวิเคราะห์เรื่องโครงสร้างทางสังคมและภูมิปัญญาไทยที่พบในสุวรรณภูมิ
 15.  สอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมในเรื่อง มงคล 10 ข้อ ให้นักเรียนนำไปปฏิบัติในชีวิตประจำวันเพื่อความสงบสุขของสังคมไทย
        (1)  เลือกคบบัณฑิต
        (2)  การปฏิบัติงานเสร็จไม่คั่งค้าง
        (3)  ความไม่จองหอง
        (4)  ความเคารพ
        (5)  การให้
        (6)  ความไม่ประมาท
        (7)  ระวังไม่ดื่มน้ำเมา
        (8)  อดทน
        (9)  ความรู้สึกในบุญคุณของผู้อื่น
       (10) ได้ฟังธรรมตลอดเวลา
   16.  ทำแบบทดสอบหลังเรียนชุด  “สุวรรณภูมิกรณีศึกษาหนึ่งของสังคมไทย ”

กิจกรรมเสริมการเรียนการสอน
    1. จัดทำหนังสืออ่านเพิ่มเติมเรื่อง สังคมรอบบริเวณท่าอากาศยานสุวรรณภูมิหรือ
    2. สำรวจการประเมินตนเองในการปฏิบัติตามสถานภาพที่ได้รับจากสถาบันทางสังคมในท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

กระบวนการวัดผลและประเมินผล
   1.  การวัดผล
            1.1  วัดความสามารถในเรื่อง   “สุวรรณภูมิกรณีศึกษาหนึ่งของสังคมไทย”   โดย  
               1.1.1   เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากแบบทดสอบก่อนเรียนและแบบทดสอบหลังเรียน ชุด  กรณีศึกษาสุวรรณภูมิกับสังคมไทยในวันนี้      
               1.1.2    ตรวจกิจกรรมในใบกิจกรรมชุด  มารู้จักท่าอากาศยานสุวรรณภูมิหนึ่งในสังคมไทย
               1.1.3   ตรวจการรายงานการวิเคราะห์
            1.2     วัดความสามารถในการจัดการและทักษะทางสังคมโดย
              1.2.1   ประเมินจากการบันทึกพฤติกรรมและสถิติของนักเรียนที่มีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นหรือร่วมกิจกรรม
              1.2.2   ประเมินจากการจัดการกิจกรรมกลุ่ม
           1.3  วัดเจตคติ  โดย
              1.3.1   ประเมินจากการสังเกตและบันทึกพฤติกรรมของนักเรียนเป็นรายบุคคลในขณะเรียนและในการทำกิจกรรมกลุ่ม
             1.3.2   ประเมินจากการสอบถามและการสรุปผลการเรียนของนักเรียนและผลการสอนของครู
   2.  การประเมินผล
           การประเมินผล  ถือเกณฑ์ผ่านสำหรับผู้ได้คะแนนจากการวัดผลร้อยละ  50  ขึ้นไป

เครื่องมือวัดผลและการประเมินผล
      1.   แบบทดสอบก่อนเรียน -  หลังเรียน  ชุด  สุวรรณภูมิกรณีศึกษาหนึ่งของสังคมไทย
      2.  กระดาษคำตอบแบบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากแบบทดสอบก่อนเรียนและแบบทดสอบหลังเรียนชุด  สุวรรณภูมิกรณีศึกษาหนึ่งของสังคมไทย
      3.   แบบการบันทึกพฤติกรรมและสถิติของนักเรียนที่มีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นหรือร่วมกิจกรรม 
      4.    แบบประเมินกิจกรรมกลุ่ม
      5.    แบบตรวจผลงาน
                                        
สื่อการเรียนรู้
     1.  ใบกิจกรรมชุด    มารู้จักท่าอากาศยานสุวรรณภูมิหนึ่งในสังคมไทย
     2.  ใบความรู้ที่  1     กลุ่มคนในสังคมไทย
     3.  ใบความรู้ที่  2     สถาบันทางสังคมในสังคมไทย
     4.  ใบความรู้ที่  3     การจัดระเบียบทางสังคมในสังคมไทย
     5.  ใบความรู้ที่  4     ภูมิปัญญาไทย

แหล่งการเรียนรู้
    1.  ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
    2.  ภูมิปัญญาของคนในท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
    3.  website ต่างๆที่เกี่ยวข้องกับเรื่อง  ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ  เช่น
          th.wikipedia.org/wiki/
          
www.appjob.com/teltofriend
          www.rakbankerd.com/01_jam/thaiinfor/country_info/index.
                                                  ฯลฯ

         คุณครูอ่านแล้วได้ข้อคิดหรือสงสัยตอนใดขอเชิญแสดงความคิดเห็นหรือสอบถามได้นะค่ะ

ตัวอย่างการรายงานโครงงานคุณธรรม

ตัวอย่างการรายงานโครงงานคุณธรรม                                                                                                      


            การยกตัวอย่างโครงงานคุณธรรมครั้งนี้ได้นำโครงงานที่มีการนำเสนออยู่แล้วใน เว็บไซต์มาเป็นกรณีศึกษา ส่วนตัวอย่างค่าเฉลี่ยความคิดเห็นของครู  เพื่อน  ผู้ปกครอง  นั้นเป็นเพียงกรณีสมมติขึ้น เพื่อให้เกิดความเข้าใจการสอดแทรกคุณธรรมในโครงงานคุณธรรมมากยิ่งขึ้น  
             ข้อสังเกตการใช้แบบประเมินจากแบบสอบถามความคิดเห็นจากเพื่อน  ครู  ผู้ปกครอง  เป็นเพียงวิธีหนึ่งที่เราจะเห็นค่านิยมที่พึงประสงค์จากเด็กๆได้ ระดับหนึ่งเท่านั้น เพราะในความเป็นจริง สิ่งสำคัญที่ต้องเน้นในการสอนแบบโครงงานคุณธรรมก็คือ คุณครูต้องสังเกตพฤติกรรมเด็กอย่างใกล้ชิด ถ้าเห็นทำพฤติกรรมไม่เหมาะสม  คุณครูเมื่อมีโอกาสอบรมสั่งสอนตักเตือนก็ต้องดำเนินการทันที ทั้งนี้เพื่อให้เด็กได้รู้ตัวว่าตนเองนั้นมีคุณธรรมที่บกพร่องควรได้รับการ แก้ไขเรื่องใด เพราะเด็กบางครั้งจะไม่เข้าใจพฤติกรรมที่ตนได้ปฏิบัติลงไปนั้นอาจเกิดความ เสียหายแก่ตนเองและสังคมอย่างไร  ขณะเดียวกันถ้าเด็กเริ่มทำดีเราก็ให้กำลังใจเขา  ส่วนเด็กคนใดที่ทำดีอยู่แล้วเราก็ยกย่องชมเชยให้เพื่อนได้เห็นเป็นตัวอย่าง  เด็กก็จะเลียนแบบกันเอง
           แรกๆในการสอนสอดแทรกอาจทำให้เด็กไม่พอใจที่มีคุณครูคอยอบรม  มักมองว่าครูจู้จี้จุกจิกบ้าง แต่ครูก็ต้องยอมรับสภาพนี้เพราะเป็นหน้าที่ของครูที่จะต้องคอยเป็นกระจกเงา ให้เด็กรู้ถึงการกระทำของตนว่าถูกหรือผิด   การเอาใจเด็กโดยหวังไม่ให้เด็กกระเทือนกระทบจิตใจโดยพูดอ้อมๆนั้นผู้เขียน เคยทดลองใช้แล้ว  ปรากฏเด็กจะไม่ใส่ใจว่า ครูกำลังตักเตือน กลับมองการกระทำนั้นเป็นเรื่องธรรมดาไม่ใช่เรื่องสำคัญ  ผลปรากฏคือ เด็กก็จะไม่รู้ถึงพฤติกรรมที่ตนต้องแก้ไขก็อาจทำให้เด็กละเลยไม่เชื่อฟังได้ การตักเตือนโดยตรงจะได้ผลดีกว่า  แต่ข้อระวังคืออย่าติเพียงอย่างเดียว   เมื่อเขาทำดีต้องรีบชมให้กำลังใจ  เพื่อไม่ให้เกิดการท้อแท้ในสิ่งที่ตนเองทำได้  จึงขอเป็นกำลังใจกับคุณครูทุกท่านที่สอนโครงงานคุณธรรม   แล้วคุณครูอย่างเพิ่งท้อเสียก่อนนะคะ
          ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างการรายงานโครงงานคุณธรรมในรายวิชาคณิตศาสตร์ เพราะคุณ ครูคณิตศาสตร์บางท่านเคยถามการสอดแทรกคุณธรรมในรายวิชานี้ จึงขอเสนอตัวอย่างโครงงานคุณธรรมในรายวิชานี้ก่อน  ส่วนวิชาอื่นถ้ามีความประสงค์อยากให้ทำตัวอย่างให้ก็เขียนขอกันมานะ ค่ะ                
              ตัวอย่างการทำโครงงานคณิตศาสตร์
โดยใช้หลักธรรมในปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงโครงงานรูปทรงและปริมาตร พิฆาตยุง*
ชื่อโครงงาน รูปทรงและปริมาตร พิฆาตยุง
ผู้จัดทำ เด็กชายอนันต์ อุดรรุ่ง เด็กหญิงเบญจมาศ ไชยสัตย์ เด็กหญิงสุภางค์ ฤทธิ์สุวรรณ
ครูที่ปรึกษา นายมานิต เหลื่อมกุมมาร นางสาวเพ็ญศรี สุปัญญา
ผล งาน รางวัลชนะเลิศ การประกวดโครงงานคณิตศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น เนื่องในสัปดาห์วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร วันที่ 18-19 สิงหาคม 2549
ที่มาและความสำคัญ
      จากกิจกรรมการเรียนการสอนคณิตศาสตร์เรื่องรูปทรงเรขาคณิตและปริมาตร พวกเราได้เรียนรู้ถึงลักษณะของรูปทรง การหาพื้นที่ และการหาปริมาตรของรูปทรงต่างๆ ทำให้พวกเราเกิดข้อสงสัยว่าปริมาตรของรูปทรงที่ได้จากการคำนวณโดยใช้สูตร นั้นมีความสัมพันธ์กันอย่างไรและเราอยากที่จะทราบว่าในปริมาตรและความสูง เท่ากันนั้นรูปทรงเรขาคณิตจะเป็นอย่างไร เราจึงได้คิดหาวิธีที่จะพิสูจน์ทฤษฎีดังกล่าวโดยใช้เทียนมาหลอมเป็นรูปทรง ต่างๆ เนื่องจากว่าโรงเรียนของพวกเราอยู่ในบริเวณวัดเห็นมีเศษเทียนจากการประกอบ พิธีทางศาสนาที่ไม่ได้นำไปใช้ประโยชน์อะไร เราจึงได้คิดที่จะนำเอาเศษ เทียนเหล่านั้นมาใช้ หล่อเป็นรูปทรงเรขาคณิตเพื่อพิสูจน์ตามข้อสงสัยดังกล่าว นอกจากนี้เรายังได้นำเอาพืชสมุนไพรที่สามารถไล่ยุงได้มาผสมลงในการหล่อเทียน เป็นรูปทรงต่างๆ เพื่อใช้เป็นเทียนสมุนไพรไล่ยุง และนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน และเพื่อจะได้นำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯมา ใช้ในชีวิตจริง
วัตถุประสงค์ของการศึกษาค้นคว้า
     1. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของปริมาตรของรูปทรงปริซึม พีระมิด กรวย ทรงกระบอกและทรงกลม
     2. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างรูปทรงเรขาคณิตกับระยะเวลาที่ใช้ในการไล่ยุง
     3. เพื่อจะได้นำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯมาใช้ในชีวิตจริง
ตัวแปรที่เกี่ยวข้อง
     1. ตัวแปรควบคุม
         1.1 พื้นที่ฐานและส่วนสูงของรูปทรงเรขาคณิต
         1.2 ปริมาตรและส่วนสูง
     2. ตัวแปรตาม
         2.1 ปริมาตรของรูปทรงเรขาคณิต
         2.2 ระยะเวลาในการกำจัดยุง
ค่านิยมที่พึงประสงค์ในหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่นำมาใช้
        1.    ขยันหมั่นเพียร
        2. ประหยัด
        3.  ซื่อตรง
        4. มีวินัย
        5. สุภาพ
        6. สะอาด
        7. สามัคคี
        8. มีน้ำใจ
เอกสารที่เกี่ยวข้อง
     ในการจัดทำโครงงานคณิตศาสตร์ครั้งนี้ กลุ่มได้ศึกษาค้นคว้าเอกสารที่เกี่ยวข้องดังต่อไปนี้
     1. รูปทรงเรขาคณิตและการหาปริมาตร
     2. สมุนไพรที่ใช้ในการไล่ยุง
     3. การหล่อเทียน
     4. ค่านิยมที่พึงประสงค์ในหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่นำมาใช้
วิธีดำเนินการ
1. อุปกรณ์
       1. กระดาษแข็ง
       2. เศษเทียน 
       3. เปลือกมะกรูด (บดตากแห้ง) 
       4. สีเทียน
       5. ไส้เทียน
       6. บีกเกอร์ ขนาด 250 ลูกบาศก์เซนติเมตร
       7. บีกเกอร์ ขนาด 100 ลูกบาศก์เซนติเมตร
       8. ชุด ตะเกียงแอลกอฮอล์
       9. รูปทรงเรขาคณิต
     10. มีดคัตเตอร์
     11. กาว
     12. แผ่นฟิวเจอร์บอร์ด
     13. ใบตะไคร้หอม (บดตากแห้ง)
     14. เปลือกส้ม (บดตากแห้ง)
     15. แก้ว
     16. เครื่องปั่นผลไม้
     17. ไม้ขีดไฟ
     18. กรรไกร
     19. ไม้บรรทัด
2. ขั้นตอนในการดำเนินการ
     1. ศึกษาเอกสารความรู้เกี่ยวกับเรื่องรูปทรงเรขาคณิตและปริมาตร
     2. จัดทำรูปทรงเรขาคณิตที่มีพื้นที่ฐานและส่วนสูงเท่ากัน และคำนวณหาปริมาตร
     3. หาความสัมพันธ์ของปริมาตรของรูปทรงเรขาคณิต
     4. จัดทำแม่พิมพ์รูปทรงเรขาคณิตที่มีปริมาตรและส่วนสูงเท่ากัน
     5. หล่อเทียนใบตะไคร้หอม เปลือกมะกรูด เปลือกส้มในรูปทรงเรขาคณิต
     6. ทดลองหาระยะเวลาในการหลอมละลายของรูปทรงเรขาคณิต
     7. สรุปผลการดำเนินการ
3. ศึกษาความสัมพันธ์ของปริมาตรของรูปทรงปริซึม พีระมิด กรวย ทรงกระบอกและทรงกลม
3.1 ขั้นเตรียม
     3.1.1 ความสัมพันธ์ของปริมาตรของรูปทรงปริซึม พีระมิด
           จัดเตรียมรูปทรงพีระมิดฐานสามเหลี่ยม สี่เหลี่ยมจัตุรัสและ หกเหลี่ยมด้านเท่าที่มีพื้นที่ฐานและส่วนสูงเท่ากับรูปทรงของปริซึมฐานสาม เหลี่ยม สี่เหลี่ยมจัตุรัสและ หกเหลี่ยมด้านเท่า ตามลำดับเพื่อเป็นแม่พิมพ์สำหรับหล่อรูปทรงเรขาคณิต ดังกล่าว
     3.1.2 ความสัมพันธ์ของปริมาตรของรูปทรง กรวย ทรงกระบอกและทรงกลม
          จัดเตรียมรูปทรง กรวย ทรงกระบอก และ ทรงกลม ที่มีพื้นที่ฐาน ( รัศมีเท่ากัน) และส่วนสูงเท่ากัน เพื่อเป็นแม่พิมพ์สำหรับหล่อรูปทรงเรขาคณิตดังกล่าว
3.2 ขั้นปฏิบัติ
     1. หลอมละลายเทียนให้ได้ปริมาตร ตามที่ต้องการ
     2. นำเทียนที่หลอมละลายนั้นมาตวงใส่ในบิกเกอร์ขนาด 100 ลูกบาศก์เซนติเมตร
     3. จดบันทึกปริมาตรของเทียนที่ใช้ หล่อเทียนในแม่พิมพ์รูปทรงปริซึม พีระมิด กรวย ทรงกระบอกและทรงกลม
3.3 ขั้นสรุปผล
     3.3.1 เปรียบเทียบความสัมพันธ์ของปริมาตรระหว่างรูปทรงปริซึมกับพีระมิดจากข้อมูลที่จดบันทึก
     3.3.2 เปรียบเทียบความสัมพันธ์ของปริมาตรระหว่าง รูปทรงกรวยทรงกระบอกและทรงกลม
4. ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างรูปทรงเรขาคณิตกับระยะเวลาที่ใช้ในการไล่ยุง
4.1 ขั้นเตรียม
     1. กำหนดรูปทรงเรขาคณิต ปริซึม พีระมิด กรวย ทรงกระบอกและทรงกลมที่มีปริมาตรและพื้นที่ฐานเท่ากัน
     2. คำนวณหาส่วนสูงของรูปทรงปริซึม พีระมิด กรวย ทรงกระบอกและทรงกลมเพื่อจัดทำแม่พิมพ์สำหรับหล่อเทียน
     3 จัดทำแม่พิมพ์รูปทรงเรขาคณิต ปริซึม พีระมิด กรวย ทรงกระบอกและทรงกลมที่มีปริมาตรและ พื้นที่ฐานเท่ากันสำหรับหล่อเทียน
4.2 ขั้นปฏิบัติ
     1. หลอมละลายเทียนให้ได้ปริมาตร ตามที่ต้องการ
     2. นำเทียนที่หลอมละลายนั้นมาตวงใส่ในบิกเกอร์ขนาด 250 ลูกบาศก์เซนติเมตร
     3. หล่อเทียนรูปทรงปริซึม พีระมิด กรวย ทรงกระบอกและทรงกลม
     4. จุดเทียนรูปทรงปริซึม พีระมิด กรวย ทรงกระบอกและทรงกลมและจับเวลาในการหลอมละลาย
     5. บันทึกผลการทดสอบ
4.3 ขั้นสรุปผล
     เปรียบเทียบระยะเวลาที่ได้จากการจุดเทียนที่หลอมละลายรูปทรงปริซึม พีระมิด กรวย ทรงกระบอกและทรงกลม
ศึกษาวิเคราะห์ค่านิยมที่พึงประสงค์ในหลักธรรมปรัชญาพอเพียงที่นำมาปฏิบัติ
   1.  ขยันหมั่นเพียร   -    มีความตั้งใจในการเตรียมรูปทรง กรวย ทรงกระบอก และ ทรงกลม ที่มีพื้นที่ฐาน ( รัศมีเท่ากัน) และส่วนสูงเท่ากัน เพื่อเป็นแม่พิมพ์สำหรับหล่อรูปทรงเรขาคณิตดังกล่าว และใช้ความเพียรในการหล่อให้ได้ตามแผนที่ไว้
   2. ประหยัด             -    มีการวางแผนการใช้เศษเทียนจากวัดซึ่งประกอบศาสนาพิธีแล้วมาใช้ในการทดลองทำ เป็นรูปทรงปริซึม พีระมิด กรวย ทรงกระบอกและทรงกลม ซึ่งช่วยประหยัดงบประมาณและสามารถช่วยให้ชุมชนนำเศษ เทียนใช้ประโยชน์ได้อีก
 3. ซื่อตรง               -    บันทึกและทำการทดลองด้วยความซื่อตรง
   4. มีวินัย                 -     ชั่งอุปกรณ์การทดลองด้วยความตั้งใจ  เก็บอุปกรณ์อย่างเป็นระเบียบ
   5.  สุภาพ                -    เมื่อไปขอเศษเทียนที่วัดจะขอเศษเทียนจากเจ้าอาวาสด้วยกิริยา มารยาท     สุภาพเรียบร้อยกราบมนัสการท่านด้วยความเคารพและขณะทดลองสมาชิกใน โครงงานไม่เสียงดัง ควบคุมอารมณ์กรณีมี ความคิดเห็นขัดแย้งกับเพื่อนร่วมโครงงานหรือสอบถามครูด้วยความ สุภาพ อ่อน น้อม มีมารยาท
   6. สะอาด                -    ล้างอุปกรณ์ทดลองให้สะอาด หรือรักษาความสะอาดบริเวณทดลอง
   7. สามัคคี               -     สมาชิกในกลุ่มให้ความร่วมมือในการทำงาน
   8.  มีน้ำใจ               -     สมาชิกในกลุ่มให้ความช่วยเหลือกันอย่างเต็มใจ
สรุป อภิปรายผล
     จากผลการศึกษาค้นคว้าความรู้เกี่ยวกับรูปทรงเรขาคณิตและปริมาตร โดยเรากำหนดพื้นที่ฐานและ ความสูงของรูปทรงปริซึม พีระมิด กรวย ทรงกลมและทรงกระบอก ทำให้เราพิสูจน์ทฤษฎีบทในการคำนวณหาปริมาตรโดยใช้สูตรให้เห็นเป็นรูปธรรม กล่าวคือ
     1.กลุ่มได้เห็นความสัมพันธ์ของปริมาตรระหว่างรูปทรงปริซึมและรูปทรงพีระมิด พบว่าปริมาตรของรูปทรงปริซึมที่ใช้เป็น 3 เท่าของรูปทรงพีระมิด และความสัมพันธ์ระหว่างรูปทรงกรวย ทรงกลม และทรงกระบอก พบว่าปริมาตรของรูปทรงกระบอกที่ใช้เป็น 3 เท่าของรูปทรงกรวยและ เป็น 2 เท่าของรูปทรงกลมตามลำดับโดยเรากำหนดพื้นที่ฐานและความสูงของรูปทรงเป็นตัว ควบคุม จึงทำให้เรามองเห็นความจริงในเรื่องของปริมาตรที่เป็นรูปธรรมและมีความ ชัดเจน
     2. การนำเอารูปทรงเรขาคณิตมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน ได้แก่ในเรื่องของการใช้เศษเทียนไข สมุนไพรพื้นบ้านมาผสมกันแล้วใช้เป็นยาจุดไล่ยุง รูปทรงเรขาคณิตมีผลต่อระยะเวลาที่ใช้ในการไล่ยุง ซึ่งผลการทดลองดังตารางที่ 1-4 กล่าวคือ รูปทรงที่มีระยะเวลาในการหลอมละลายหรือไล่ยุงได้นานที่สุดได้แก่รูปทรงกรวย รูปทรงพีระมิด ทรงกระบอกและรูปทรงปริซึมตามลำดับ
     ศึกษาวิเคราะห์ค่านิยมที่พึงประสงค์ในหลักธรรมปรัชญาพอเพียงที่นำมาปฏิบัติใช้ในการทดลองครั้งนี้  คือ
            1.  สมาชิกในกลุ่มมีความเพียรพยายามอยู่ในระดับดีมากดัง ผลการประเมินของครู เพื่อนและผู้ปกครองคิดค่าเฉลี่ย4.75 ทั้งนี้เพราะประดิษฐ์เศษเทียนเป็นรูปทรงปริซึมและรูปทรงพีระมิด เห็นความสัมพันธ์ของปริมาตรระหว่างรูปทรงปริซึมและรูปทรงพีระมิด พบว่าปริมาตรของรูปทรงปริซึมที่ใช้เป็น 3 เท่าของรูปทรงพีระมิด และความสัมพันธ์ระหว่างรูปทรงกรวย ทรงกลม และทรงกระบอก พบว่าปริมาตรของรูปทรงกระบอกที่ใช้เป็น 3 เท่าของรูปทรงกรวยและ เป็น 2 เท่าของรูปทรงกลมตามลำดับโดยเรากำหนดพื้นที่ฐานและความสูงของรูปทรงเป็นตัว ควบคุม จึงทำให้เรามองเห็นความจริงในเรื่องของปริมาตรที่เป็นรูปธรรมและมีความ ชัดเจน
           2.  ใช้หลักธรรมเรื่องการมีวินัยและความซื่อตรงในขณะชั่งสารสี   รู้จักอดทนต่อการรอคอยผลการทดลอง  ตลอดจนไม่สรุปผลเข้าข้างตนเอง  แต่สรุปผลตามความเป็นจริง ด้วยความซื่อตรงดังผลการประเมินของครู เพื่อนและผู้ปกครองคิดค่าเฉลี่ย4.39 อยู่ในระดับดีมาก
            3.  ช่วยกันเก็บอุปกรณ์ทดลองล้างให้สะอาดเก็บอุปกรณ์ที่ใช้อย่างเป็นระเบียบ มี การนำหนังสือพิมพ์ปูพื้นก่อนทดลองและสมาชิกช่วยกันดูแลรักษาความสะอาด พื้นที่ทดลองเป็นอย่างดี   ดังผลการประเมินของครู เพื่อนและผู้ปกครองคิดค่าเฉลี่ย4.33อยู่ในระดับดีมาก
            4.   สมาชิกในกลุ่มมีความสามัคคี  อยู่ในระดับดี  มีน้ำใจให้ความร่วมมือตลอดการทดลองดังผลการประเมินของครู เพื่อนและผู้ปกครองคิดค่าเฉลี่ย4.63อยู่ในระดับดีมาก
            5.    มีการวางแผนการใช้วัสดุทดลองทำให้ไม่สิ้นเปลืองงบประมาณ  และเป็นประโยชน์ต่อชุมชน  ดังผลการประเมินของครู เพื่อนและผู้ปกครองคิดค่าเฉลี่ย4.63  อยู่ในระดับดีมาก
            6.  ขณะทดลองโครงงานสมาชิกในกลุ่มให้ เกียรติเคารพรับฟังความคิดเห็นของครู  เพื่อนและผู้ปกครอง ในกลุ่มจะร่วมกันใช้วิจารณญาณ พูดสุภาพเรียบร้อย มีความจริงใจที่จะค้นคว้าทดลอง  ดังผลการประเมินของครู เพื่อนและผู้ปกครองคิดค่าเฉลี่ย4.73อยู่ในระดับดีมาก
           7.  ทำ ให้สมาชิกช่วยคิดวิเคราะห์สรุปผลการทดลองด้วยปัญญาเกิดการเรียนรู้จาก ประสบการณ์ตรงรู้จักใช้สติในการทำงานมาขึ้นและมีฉันทะความพึงพอใจในบทเรียน
ข้อเสนอแนะ
     1. สามารถนำสมุนไพรพื้นบ้านชนิดอื่นมาเป็นส่วนผสมได้
     2. สามารถใช้วัสดุอย่างอื่นมาหลอมแทนเทียนได้
ประโยชน์ที่ได้รับ
     1. ทราบว่าปริมาตรของรูปทรงปริซึมสัมพันธ์กับพีระมิด และปริมาตรของกรวย ทรงกลมสัมพันธ์กับทรงกระบอก
     2. ทราบว่าปริมาตรของรูปทรงเรขาคณิตที่ใช้ในการไล่ยุงได้นานที่สุดคือ กรวย พีระมิด ทรงกระบอกและปริซึม ตามลำดับ
   3.  ได้นำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯมาใช้ในชีวิตจริง
                  อย่าลืมนะคะคุณครูที่สอนโครงงานคุณธรรมต้องทำความเข้าใจคุณธรรมแต่ละตัวให้ กระจ่างและต้องปฏิบัติเป็นแบบอย่างให้เด็กๆด้วยเราจึงสามารถสอนเขาได้ถูก ต้อง
หมายเหตุ  :  แหล่งที่มาในโครงงาน นำมาจาก
 sunisa.is.in.th/?md=content - 30k

เมื่อลูกศิษย์ทำดี ถวายในหลวง

 
           เมื่อปีการศึกษา 2549 ดิฉันได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบโครงการคุณธรรมเฉลิมพระเกียรติ  เยาวชนทำดีถวายในหลวง  หาเด็กร่วมกิจกรรมทำโครงงานคุณธรรม  มีนักเรียนกลุ่มหนึ่งให้ความสนใจอยากร่วมกิจกรรม ดิฉันดีใจที่เด็กให้ความสนใจ  แล้วเชิญดิฉันเป็นที่ปรึกษาโครงงานคุณธรรมด้วย  ดิฉันยินดีให้ความช่วยเหลืออย่างเต็มที่เพราะเห็นว่า เด็กๆกลุ่มนี้เป็นเด็กที่เราสอนตั้งแต่ระดับชั้นม.ซึ่งได้ช่วยเขาเป็นที่ปรึกษาสร้างผลงานเด่นๆหลายครั้ง เช่น เคยได้รางวัลชนะเลิศแข่งขันทำสมุดภาพพลิก รางวัลชมเชยในการแข่งขันภาพปะติด  รางวัลการแข่งขันตอบปัญหากฎหมาย  เป็นต้น   ครั้งนี้โดยส่วนตัวแล้วดิฉันคิดว่า  น่าจะช่วยเติมเต็มเด็กกลุ่มนี้ด้านคุณธรรมเพราะจะได้ใช้เป็นเกราะนำชีวิตของเขาเมื่อก้าวสู่โลกกว้าง    ที่สำคัญดิฉันได้มีโอกาสร่วมทำดีถวายในหลวง 





          ครั้งแรกเด็กๆกลุ่มนี้มาพบดิฉันพร้อมงงๆกับตนเองว่า จะทำโครงงานคุณธรรมเรื่องใดดี ดิฉันจึงให้คำแนะนำว่า  เราน่าจะสร้างกลุ่มของตัวเองเกิดขึ้นก่อนโดยหาน้องๆม.มาช่วยในโครงงานคุณธรรมครั้งนี้ จนในที่สุดได้กลุ่มสมาชิกครบ 10 คน  ดิฉันให้เขาตั้งชื่อกลุ่มของตนเองก่อนโดยให้ช่วยกันคิดพร้อมให้เหตุผลว่า เหตุใดจึงตั้งชื่อ กลุ่ม แบบนี้  พร้อมให้ลงคะแนนเสียงว่าของใครตั้งชื่อได้ดีที่สุด  จนได้ชื่อกลุ่มว่า"ไตรทวารความดี"และตอนหลังเราได้นำไปปรึกษาพระอาจารย์ดร.พระมหาไพเราะ ที่วัดมหาธาตุ ท่านให้คำแนะนำเปลี่ยนเป็นชื่อ กลุ่มสุจริตไตรทวาร  จากนั้นได้แนะนำว่าน่าจะมีสัญลักษณ์กลุ่ม  พวกเขาก็ช่วยกันออกแบบได้สำเร็จตามเป้าหมาย พร้อมอธิบายกลุ่มของตนได้เอง  ดิฉันจะบอกเด็กๆกลุ่มนี้ว่า  "นี่แหละคือ การรู้จักคิดด้วยปัญญา หรือทางศาสนาพุทธเราเรียกว่า การคิดแบบโยนิโส-มนสิการ   เด็กๆเริ่มเข้าใจมากขึ้นจากภาคปฏิบัติ นอกเหนือจากทฤษฎีที่เรียนท่องจำในห้องเรียน  แต่ขาดการเน้นย้ำในภาคปฏิบัติ 




ดาวน์โหลด
 ดาวน์โหลด




             ถึงอย่างไรเด็กๆยังไม่ได้โครงงานคุณธรรมที่จะทำอยู่ดี  บอกเรื่องแต่ละเรื่องที่จะทำเป็นเรื่องไกลตัว  ไม่ได้ความใสความใหม่ในตัวของพวกเขาเลยในความคิดของดิฉัน (ว่าไปนั่น....) ดิฉันจึงคิดหาวิธีช่วยให้เขาค้นพบตนเองให้ได้โดยมองความสามารถของตนเองว่าแต่ละคนมีความสามารถเรื่องใดบ้าง  ให้เขาวิเคราะห์ตนเองและเพื่อน  จนเด็กๆได้ค้นพบว่า  เขาน่าจะทำโครงงานคุณธรรมเรื่อง  "เสียงเพลงเสียงธรรมตามรอยพระยุคลบาท  ฉันจึงบอกว่า  อย่างนี้ซิค่อยเป็นตัวตนที่แท้จริงของพวกเราหน่อยไม่ใช่เลียนความคิดใคร  ไม่ใช่จะให้ครูเป็นผู้คิดให้ ทำให้ แต่เพียงอย่างเดียว เพราะ เดี๋ยวออกไปสู่สังคมภายนอกแล้วมันต้องเจอปัญหาอุปสรรคอีกมากมาย  แล้วใครจะช่วยพวกเราได้  ถ้าเราไม่ช่วยตัวเองก่อน  ดิฉันรู้สึกดีใจที่มีโอกาสได้สอนเด็กๆอีกแล้ว   ในที่สุดเด็กๆได้สร้างสรรค์เพลงมีคุณภาพถึง  5 เพลง  เป็น เพลงที่ไพเราะมีความหมายทุกเพลงเลย มองว่าเด็กๆสร้างบทเพลงที่กลั่นกรองมาจากใจ ที่สำคัญพวกเขาได้รับการฝึกให้มีการจัดการอย่างมีกระบวนการ เพราะได้นำไปให้ผู้เชี่ยวชาญ ผู้ปกครอง ครู เพื่อนๆ และน้องๆคอยติชมด้านการแต่งเพลง ด้านดนตรี  และด้านภาษาในเพลงที่พวกเขาได้แต่งขึ้นและร่วมกันร้อง



 

                  นอกเหนือกว่านั้นพวกเขาได้ปฏิบัติตามรอยพระยุคลบาท  พยายามประเมินตนเองปฏิบัติตนเองให้มีคุณธรรมโดยเฉพาะคุณธรรม ทศพิธราชธรรม  เขาได้ปฏิบัติเป็นประจำจนรู้ตน  รู้ข้อบกพร่องที่ต้องแก้ไข    โดยมีดิฉันเป็นผู้กำกับให้คำแนะนำคุณธรรมที่ยังขาดไป ดิฉันให้การดูแลพวกเขาอย่างใกล้ชิด  ดิฉันจึงเป็นมากยิ่งกว่าการเป็นครูของเด็กกลุ่มนี้ เรียกได้ว่า เป็นทั้งแม่ ทั้งเพื่อน  เป็นญาติคนหนึ่งของพวกเขา  ว่ารวมๆกันไป  เราอาจทำให้เขาดีเต็มทั้งร้อยเปอร์เซ็นต์ไม่ได้ แต่อย่างน้อยเขาก็เป็นเยาวชนดีของสังคม  เป็นพลเมืองดีของชาติ พวกเขาจะไม่มาทำร้ายประเทศชาติอย่างแน่นอน  เพราะอย่างน้อยพวกเด็กๆกลุ่มนี้ได้ตระหนักแล้วถึงผลของการทำความดี  ถวายในหลวง เป็นประการสำคัญ  เพราะเขาได้รับรางวัลชนะเลิศประเภทคิดสร้างสรรค์ ของ  สพทสป.เขต 2 แม้พวกเขาไม่มีโอกาสแข่งขันในระดับภาค    ทั้งๆที่พวกเขาเสียดายอยากให้ทุกๆคนในประเทศไทยได้รู้จักเด็กโรงเรียนพูลเจริญวิทยาคมซึ่งจะมีใครๆในประเทศไทยสักกี่คนที่รู้จักกัน   ดิฉันได้แต่ปลอบใจว่า  ความดีคือความดี  ผลการทำดีอย่างน้อยก็ทำให้เธอได้เรียนรู้ชีวิต  ได้เรียนรู้ว่าคนเราจะได้อะไรทุกสิ่งทุกอย่างที่มุ่งหวังไม่ได้  แต่เราได้ทำดีถวายในหลวงก็น่าจะเพียงพอแล้ว  ที่สำคัญพวกเราได้ใจจากครู  ได้ชนะใจตนเอง  แม้ไม่ชนะใจกรรมการก็ตาม     
 


 

 

      ผลแห่งการทำความดีก็ปรากฏแก่เด็กกลุ่มสุจริตไตรทวาร ดิฉันได้รับการติดต่อจากพระอาจารย์พระมหาพรหมรินทร์โดยตรงขอให้เด็กกลุ่มสุจริตไตรทวารได้ร่วมแสดงจัดนิทรรศการในตลาดนัดคุณธรรม  ที่ศูนย์ประชุมสิริกิติ์  ซึ่งดิฉันให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่เช่นเคย  ดิฉันได้ติดต่อผู้ปกครองให้ช่วยดูแลเด็กๆโดยตรงเพราะดิฉันติดราชการไม่สามารถไปร่วมงานได้  แต่ให้ทุนทรัพย์ในการเดินทาง  พร้อมบอกว่า  อย่าลืมถ่ายภาพสวยๆมาอวดด้วย   และ ไม่เพียงเท่านี้ หนึ่งในกลุ่มสุจริต-ไตรทวารได้เรียนต่อที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ธนบุรี ได้รับทุนศรีวิสาวาจา ซึ่งเป็นทุนการศึกษาภาคเรียนละ 15,000บาท ได้ทุนต่อเนื่องเป็นเวลา ปี  จากสถาบัน ทั้งนี้เพราะชื่นชมในผลงานที่นักเรียนได้ทำมานั่นเอง   ส่วนเพลงที่จัดทำได้รับการขออนุญาตเผยแพร่จำนวน2,500 แผ่นจากมูลนิธิรุ่งอรุณ
    

               สำหรับวันนี้กลุ่มสุจริตไตรทวารยังมีอยู่ในโรงเรียน
พูลเจริญวิทยาคมกำลังสร้างสรรค์เพลงชุดใหม่  แต่กำลังคอย
ผู้มีจิตศรัทธาร่วมสนับสนุนทุนทรัพย์  ช่วยสนับสนุนในโครงงานเสียงเพลงเสียงธรรมตามรอยพระยุคลบาทของเด็กๆ  โปรดโทร 
0859926904  ดิฉันจะช่วยประสานกับเด็กๆให้ค่ะ.....